Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2390
Title: | ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (Glomus sp., Acaulospora sp.) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักเชียงดาจากใบอ่อน |
Other Titles: | Effect of AM Fungi (Glomus sp., Acaulospora sp.) on the Growth, Phenolic a Content of Gymnema inodorum (Lour.) Decne. and tissue culture of Gymnema inodorum from young leaves |
Authors: | ทิพย์จักร์, นันทิญาพรรณ ดงปาลี, พลอยชมพู |
Keywords: | ผักเชียงดา เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา สารฟีนอลิก มหาวิทยาลัยพะเยา Gymnema inodorum (Lour.) Decne Arbuscular Mycorrhizal Fungi Phenolic University of Phayao |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | ผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือของไทยที่มีการรายงานถึงสรรพคุณของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และการรักษาโรคเบาหวาน การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเชื้อรา อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักเชียงดา ศึกษาผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญของผักเชียงดา และศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากใบอ่อนของผักเชียงดา ใช้การทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง วัดความสูง นับจำนวนใบ วัดความกว้าง-ยาวใบ ทุก ๆ 1 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 จากนั้นวัดน้ำหนักสด-แห้งของใบผักเชียงดา แล้วนำไปวิเคราะห์ปริมาณ สารฟีนอลิก และนำรากไปตรวจดูการเข้าไปในรากของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา นอกจากนี้ยังได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบผักเชียงดาในสูตรอาหาร MS+1NAA+1BA และ MS+2NAA+1BA จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์หาธาตุอาหารในดินหลังการทดลอง ผลการศึกษาของผักเชียงดากลุ่มทดลองที่ใส่เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา พบว่า มีผลต่อความสูงและความยาวใบ แต่ไม่มีผลกับจำนวนใบ ความกว้างใบ และน้ำหนักสด-แห้ง สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกในผักเชียงดาในกลุ่มควบคุม (34.35±2.10 mg g/g.ext) และกลุ่มทดลอง (38.68±2.29 mg g/g.ext) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการตรวจเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่เข้าไปในราก พบการสร้างอาร์บัสคูลในชั้นคอร์เท็กซ์ของราก และพบเส้นใยของเชื้อราเจริญผ่านผนังเซลล์ของราก ผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรอาหาร MS+1NAA+1BA จำนวนการเกิดแคลลัสเกิดได้มากกว่าสูตรอาหาร MS+2NAA+1BA ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน พบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงกกว่ากลุ่มควบคุม |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2390 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.