Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2388
Title: ผลของไคโทซานปุ๋ยอินทรีย์น้ำและน้ำจากน้ำพุร้อนต่อการเจริญเติบโต และค่าสรีรวิทยาบางประการในข้าวก่ำเมืองพะเยาที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์
Other Titles: Effect of Supplement Chitosan Liquid Organics Fertilizer and Hot Spring Water on Growth and Some Physiological Parameters on Hydroponic Culture of Black Glutinous Rice (Oryza Sativa L. Cv. Kum Muang Phayao)
Authors: เทียนทอง, จันทร์จิรา
ศิริระพร, ณัฎฐ์นรี
ชีวะวัฒนา, พัชรเมศฐ์
Keywords: การเติบโต
ข้าวก่ำเมืองพะเยา
สรีรวิทยา
ไฮโดรโพนิกส์
Black glutinous rice
Growth
Hydroponic
Physiology
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: จากการศึกษาภาวะเครียดจากการขาดธาตุอาหารของต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยา โดยใช้ระบบปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ที่มีสารละลาย Hoagland เสริมไคโทซาน O80 (1ml/L) และเสริมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (2.5ml/L) พบว่า ค่าการเติบโตและค่าทางสรีรวิทยาของชุดทดลองที่ขาดธาตุอาหารมีค่าลดลงทั้งความสูงของลำต้น และน้ำหนักแห้งของส่วนยอด โดยระหว่างขาดธาตุอาหาร พบว่า ต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 จะมีความยาวรากเพิ่มขึ้น (8.37 cm.) และอัตราส่วนระหว่างความยาวรากต่อความสูงของลำต้นได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน (0.373) ความยาวรากและอัตราส่วนของความยาวรากต่อความสูงของลำต้นของต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 นั้นมีค่าเป็น 2 และ 1.87 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมตามลำดับ อย่างไรก็ตามต้นกล้าในชุดการทดลองที่ได้รับปุ๋ยอินทรีย์นำและชุดการทดลองควบคุมแสดงค่าน้ำหนักสดและความยาวของลำต้นและราก ที่คล้ายคลึงกัน แต่ในทางตรงกันข้ามค่าน้ำหนักแห้งและค่าความยาวของลำต้นของต้นกล้าข้าวจะถูกจำกัดลงเมื่อเพาะเลี้ยงต้นกล้าข้าวด้วยน้ำพุร้อน การสะสมของรงควัตถุต่าง ๆ เช่น คลอโรฟิลล์ a (1.195 เท่า), คลอโรฟิลล์ b (1.20 เท่า) และแคโรทีน (1.17 เท่า) ในต้นกล้าข้าวที่ขาดธาตุอาหารแต่เสริมด้วย chitosan O80 นั้น จะสามารถคำนวณได้จากสมการของ Lichtentaler และ Wellburn จากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธีดันแคน (DMRT) พบว่า ไคโทซาน O80 สามารถกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของความยาวของปากใบได้ 2.198 เท่า เมื่อเทียบกับชุดการทดลองควบคุม และยังเพิ่มจำนวนความหนาแน่นของปากใบต่อพื้นที่หนึ่งตารางมิลลิเมตร (18.45 เซลล์) ซึ่งการค้นพบทั้งหลายนี้ชี้ให้เห็นถึงกลไกการทำงานของไคโทซานที่เกี่ยวข้องกับการรอดชีวิตในต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยาที่อยู่ในสภาพการขาดธาตุอาหาร
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2388
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.