Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2375
Title: กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
Other Titles: Proactive Strategies for Human Resource Management of Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute
Authors: อ้นด้วง, ณัฐติพร
Keywords: กลยุทธ์
ทรัพยากรมนุษย์
เชิงรุก
วิทยาลัยพยาบาล
Strategies
Human Resource
Proactive
Nursing Colleges
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2020
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อม และแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก ของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 320 คน การสนทนากลุ่มกับนักทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 33 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 2) การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยยกร่างกลยุทธ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดแข็ง คือ ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองแก่บุคลากร จุดอ่อน คือ ระบบบริหารตำแหน่งล่าช้า โอกาส คือ มีอิสระในการบริหารงานและบุคลากรสายวิชาการมีความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง และภาวะคุกคาม คือ การปรับเปลี่ยนระเบียบและกฎหมายทำให้บริหารงานล่าช้า ส่วนแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะ การธำรงรักษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก และ 14 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคล่องตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ 2) เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 4) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 5) พัฒนาระบบการธำรงรักษาบุคลากร มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2375
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattiporn Onduang.pdfNattiporn Onduang3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.