Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2351
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมของเศษอาหารและหญ้านวลน้อย
Other Titles: Biogas Production from Anaerobic Co-Digestion of Food Waste and Grass
Authors: อยู่รอด, อำภา
สุดนาวา, วัชรี
เกตุทอง, หนึ่งฤทัย
Keywords: การหมักร่วม
ก๊าซชีวภาพ
เศษอาหาร
หญ้านวลน้อย
BMP test
Co-digestion
Biogas
Food waste
Grass
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมของเศษอาหาร และหญ้านวลน้อยจากโรงอาหารวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการหมักร่วมในระบบหมักแบบไร้อากาศ มีการใช้ BMP test ทดลองหาระยะเวลาและอัตราส่วนผสมของเศษอาหารและหญ้านวลน้อยที่เหมาะสม ที่อัตราส่วนผสมของเศษอาหารและหญ้านวลน้อย 3:2 เป็นอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในการหมักร่วมมากที่สุด เนื่องจากมีผลการวิเคราะห์ BMP test สูงสุด โดยใช้ HRT 7 วัน ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมที่ได้จากการทดลอง BMP Test ทำการป้อนเข้าระบบ ASBR ขนาดความจุ 200 ลิตร จำนวน 2 ถัง โดยแต่ละถังมีปริมาตรที่ใช้จริง 160 L และ Free Board 20 L ระบบ ASBR มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ในรูปของ BOD COD TS และ VS ได้ 68(±10.37)%, 84±(1.52)%, 91.31(±0.35)% และ 91.49(±1.23)% ตามลำดับ มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ 0.42±0.02 lCH4/gVSremoved ซึ่งองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพในถังปฏิกิริยาที่ 1 (R1) มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (40%) มากกว่ามีเทน (13.91) ไม่เป็นไปตามทฤษฎีองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ เนื่องจากส่วนผสมเศษอาหารและหญ้านวลน้อยที่เข้าสู่ระบบมีความเป็นกรดสูง pH ในระบบมีค่าเท่ากับ 6.6±0.3 ส่วนองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพในถังปฏิกิริยาที่ 2 (R2) มีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนเป็นไปตามทฤษฎี (CH4 64%) เนื่องจากระบบทำงานในช่วง pH 7.1±0.1 ซึ่งเป็นช่วงที่จุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ในการสร้างมีเทน (Methanogenesis) สามารถทำงานได้และเกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายกรดอะซิติก ก๊าซไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นมีเทน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2351
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.