Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2335
Title: | การหาค่าดัชนีความสำคัญป่าเต็งรังในพื้นที่อุทยานการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมากจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยพะเยา |
Other Titles: | Find Important Value Index of Tree Species Deciduous Dipterocarp Forest in The Knowledge Park on Climate Change and Environment in Plant Genetic Conservation under The Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, University of Phayao |
Authors: | อภิวงค์งาม, ปรีญาดา ศรีหาบุต, ธัญญรัตน์ |
Keywords: | ค่าดัชนีความสำคัญ ชนิดพันธุ์ไม้เด่น ป่าเต็งรัง พรรณไม้ในป่าเต็งรัง Important value index Dominant tree species Deciduous dipterocarp forest Tree in deciduous dipterocarp forest |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าดัชนีความสำคัญของชนิดพันธุ์ไม้ และสังคมพืชในแปลงตัวอย่างป่าเต็งรัง ภายในพื้นที่อุทยานการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยาในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคมปี 2561 ซึ่งจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสำคัญ และลักษณะสังคมพืชเชิงปริมาณ ซึ่งประกอบด้วย ความหนาแน่น ความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความถี่ ความถี่สัมพัทธ์ ความเด่น ความเด่นสัมพัทธ์ และความอุดมสมบูรณ์ ทำการศึกษาโดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 40 X 40 เมตรหรือประมาณ 1 ไร่ เพื่อศึกษาพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (DBH ≥ 4.5 เซนติมตร) ขึ้นไป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การทำบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้ ผลการศึกษาพบ พันธุ์ไม้ จำนวน 942 ต้น 19 วงศ์ 41 ชนิด มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ ค่าความถี่สัมพัทธ์ และดัชนีความสำคัญสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ต้นพลวง Dipterocarpus tuberculatus ต้นเต็ง Shorea dbtusa และต้นรัง Shorea siamensis ตามลำดับ ส่วนค่าความเด่นสัมพัทธ์สูงสุด คือ ต้นเต็ง ลักษณะโครงสร้างของสังคมพืชในเต็งรังภายในพื้นที่อุทยานการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า ชั้นเรือนยอดที่สูงที่สุด ได้แก่ เหียง (Dipterocarpus obtusifolius) |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2335 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | ติดต่อ | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.