Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2326
Title: แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
Other Titles: Approaches to the Management of Culture Tourism in Accordance The Identities of the Vicinity Central Provincial Cluster
Authors: ความคุ้นเคย, เจษฎา
Keywords: แนวทางการจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อัตลักษณ์
กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
Approaches to management
Culture tourism
Identity
Vicinity Central Provincial Cluster
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1850
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และรูปแบบการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล จำนวน 400 คน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 40 คน และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) มีเอกลักษณ์ระดับชาติที่นักท่องเที่ยวมีความประทับใจมาก มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกันระหว่างกลุ่ม สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก มีความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวสูง หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นร่วมกันให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีอัตลักษณ์ คือ วิถีชีวิตและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำและชาติพันธุ์มอญ 2) องค์ประกอบของการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย สามารถในการเข้าถึงมีหลายช่องทาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วนที่พักมีจำนวนเพียงพอ กิจกรรมการท่องเที่ยวเน้นการเที่ยวชมโบราณสถานและเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน รูปแบบการจัดการด้านการท่องเที่ยว ไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน 3) นักท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดอยู่ในระดับมาก 4) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลด้วยรูปแบบ DEPTH-AIM Model ประกอบด้วย การพัฒนา (Development : D) การมีส่วนร่วม (Engagement : E) จุดยืนของแบรนด์ (Position : P) การทำงานเป็นหมู่คณะ (Team : T) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource : H) การสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่ม (Alliance : A) การสะท้อนอัตลักษณ์ให้ชัดเจน (Identity : I) และการตลาดและการส่งเสริมการตลาด (Marketing and Promotion : M)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2326
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jassada Kwamkhunkoei.pdfJassada7.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.