Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2270
Title: คุณลักษณะของครูในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โรงเรียนวังเหนือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลำปาง-ลำพูน)
Other Titles: The Characteristics for ASEAN Community Preparation of Teachers in Wangnuea Wittaya School under the Secondary Educational Service Area Office 35 (Lampang-Lamphun)
Authors: แก้วในชุมภูทอง, รณชัย
Keywords: การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะของครู
โรงเรียนวังเหนือวิทยา
Prepare for the ASEAN Community
The Characteristics of Teachers
Wang Nuea Wittaya School
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=965&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูในการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนวังเหนือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลำปาง-ลำพูน) 2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนต่อคุณลักษณะของครูในการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนวังเหนือวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลำปาง-ลำพูน) จากผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาคุณลักษณะของครูในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อคุณลักษณะของครู ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนวังเหนือวิทยา โดยภาพรวมทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT) ในการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการเผยแพร่ผลงาน ทั้งระบบออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านความสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในประเทศและในกลุ่มประชาคมอาเซียน และความคิดเห็นของนักเรียนต่อคุณลักษณะของครูในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนวังเหนือวิทยา โดยภาพรวมทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการใช้วิจัย สื่อนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ ด้านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT) ในการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการเผยแพร่ผลงาน ทั้งระบบออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้หนังสือ ตำราเรียนและสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อคุณลักษณะของครู ปัญหาและข้อเสนอแนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านความสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ทั้งในประเทศและในกลุ่มประชาคมอาเซียน ปัญหาครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนระหว่างครู ทั้งในประเทศและในกลุ่มประชาคมอาเซียน และปัญหาและข้อเสนอแนะของนักเรียน ได้แก่ ด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้หนังสือ ตำราเรียน และสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้ ปัญหาครูโดยส่วนใหญ่ไม่มีการนำหนังสือ ตำราเรียน และสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2270
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ronnachai Kaewnaichumphuthong.pdfRonnachai Kaewnaichumphuthong2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.