Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2177
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอนันต์, เมธี-
dc.date.accessioned2023-08-23T03:47:48Z-
dc.date.available2023-08-23T03:47:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1607&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2177-
dc.description.abstractการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีไหว้สาพญามังราย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยมีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร และเพื่อทดลองใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีไหว้สาพญามังราย ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้และได้มีส่วนร่วมในประเพณีไหว้สาพญามังราย จำนวน 1 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ตรวจความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตร และนำไปทดลองใช้นำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาหาข้อมูลพื้นฐาน สรุปได้ว่าครั้งนี้เป็นการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน กระบวนการคิดวิเคราะห์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการเผยแพร่ มีจิตสำนึก เห็นคุณค่า หวงแหนในประเพณีไหว้สาพญามังราย ในหลักสูตรที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น โดยมีการจัดการเรียนรู้จำนวน 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 2) หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง ประเพณีไหว้สาพญามังราย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สาระการเรียนรู้ของหลักสูตร คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และเอกสารประกอบหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ต้นกำเนิดเมืองเชียงราย 2) พิธีกรรมประเพณีไหว้สาพญามังราย 3) การสมโภชประเพณีไหว้สาพญามังราย และ 4) การสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ประเพณีไหว้สาพญามังราย กระบวนการเรียนรู้ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมกับชุมชน การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง ประเพณีไหว้สาพญามังราย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมทุกข้อ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เกี่ยวกับประเพณีไหว้สาพญามังรายหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความตระหนักถึงคุณค่าการอนุรักษ์ประเพณีไหว้สาพญามังราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการพัฒนาหลักสูตรen_US
dc.subjectสาระการเรียนรู้en_US
dc.subjectประเพณีไหว้สาพญามังรายen_US
dc.subjectการอนุรักษ์en_US
dc.subjectนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.subjectCurriculum developmenten_US
dc.subjectLearningen_US
dc.subjectWai Sa Phaya Mengrai Traditionen_US
dc.subjectConservationen_US
dc.subjectGrade 10 studentsen_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ประเพณีไหว้สาพญามังราย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.title.alternativeThe Development of Additional Course Curriculum Under Learning Wai Sa Phaya Mengrai Tradition for Grade 10 Studentsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mathee Anan.pdfMathee Anan1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.