Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2139
Title: ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
Other Titles: The Relationship Between Motivation and Work Efficiency of Personnel Working For The Secondary Educational Service Office 35
Authors: บุญเรือง, พัชราภรณ์
Keywords: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ข้าราชการครู
Motivation in working
Work efficiency
Teacher
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1037&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จำนวนทั้งสิ้น 366 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพในปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความถูกต้องมีคุณภาพและมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านบรรลุเป้าหมาย และด้านความตรงต่อเวลามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกทุกคู่
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2139
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharaphon Boonrueang.pdfPatcharaphon Boonrueang3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.