Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1995
Title: | การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวาวี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 |
Other Titles: | Managing The School's Learning Environment in The Networked Center Improve Educational Quality Wawee under the Area Office Primary Education Chiang Rai Region 2 |
Authors: | ก้อสละ, กฤษนุ |
Keywords: | การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการจัดการศึกษาวาวี Management learning environmental Wawee educational management development network center |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1856 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวาวี และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวาวี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาการจัดการศึกษาวาวี จำนวน 100 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาการจัดการศึกษาวารี พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับแรกจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ สภาพแวดล้อมด้านการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา สภาพแวดล้อมด้านสังคมและกลุ่มเพื่อน และสภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาการจัดการศึกษาวาวี พบว่า 2.1) สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ พบว่า ควรปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แหล่งเรียนรู้ให้พร้อมใช้งานเอื้อต่อการเรียนรู้มีความถี่สูงสุด รองลงมา คือ ควรจัดสรรงบประมาณมาสร้างแหล่งเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยี และควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ของโรงเรียน ตามลำดับ 2.2) สภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอนมีความถี่สูงสุด รองลงมา คือ การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ค้นพบตนเอง และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย ตามลำดับ 2.3) สภาพแวดล้อมด้านสังคมและกลุ่มเพื่อน พบว่า จัดกิจกรรมเสริมทางด้านวิชาการมีความถี่สูงสุด รองลงมา คือ ออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มอย่างหลากหลาย และเปลี่ยนกลุ่ม ตามลำดับ 2.4) สภาพแวดล้อมด้านการบริหาร พบว่า ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความถี่สูงสุด รองลงมา คือ ให้ชุมชนได้มามีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1995 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Klisnu Kosala.pdf | Klisnu Kosala | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.