Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1973
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไชยสาร, พนิตนาฏ-
dc.date.accessioned2023-06-20T08:44:03Z-
dc.date.available2023-06-20T08:44:03Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1072&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1973-
dc.description.abstractการศึกษา เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบสื่อความหมายทางธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานภูลังกา จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อศึกษาบริบทการจัดการระบบสื่อความหมายธรรมชาติ ความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านการสื่อความหมายธรรมชาติ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบสื่อความหมายทางธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานภูลังกา โดยวิธีการวิจัยในครั้งนี้เป็นการผสมผสาน ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 8 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ 5 คน และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา 190 คน ผลการศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวในวนอุทยานภูลังกา มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามในส่วนของการจัดการระบบสื่อความหมาย ยังมีข้อจำกัดหลายประการ รวมถึงด้านบุคลากร และงบประมาณ สำหรับความคิดเห็นและความต้องการของผู้มาเยือน พบว่า ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่เห็นว่าเหมาะสมและควรมีการพัฒนา ได้แก่ การตั้งแค้มป์ กางเต็นท์ ดูดาว ชมทะเลหมอก รวมทั้งควรมีการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การบริการให้ความรู้/การสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.10) จากผลการศึกษานำไปสู่แนวทางการพัฒนาระบบสื่อความหมายธรรมชาติ วนอุทยานภูลังกา โดยมีการกำหนดเค้าโครงโปรแกรมสื่อความหมายหลัก คือ “ขุนเขาแห่งความรัก ที่พักอันชุ่มฉ่ำ ลำนำแห่งชีวิต ลิขิตจากแผ่นฟ้า ภูผาแห่งดวงดาว” และกำหนดให้มีเส้นทางท่องเที่ยววนอุทยานภูลังกา 2 เส้นทาง มีจุดสื่อความหมาย 10 สถานี ซึ่งแต่ละจุดควรมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ป้ายสื่อความหมายในพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรม โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การพัฒนาป้ายหรือสัญลักษณ์บอกทาง รวมถึงการสื่อความหมายด้านกิจกรรมและพื้นที่ และมีระบบความปลอดภัยในระดับหนึ่ง รวมถึงมีการจัดโซน และการส่งเสริมเรื่องราวความเป็นมาของพื้นที่ ข้อมูลและผลที่ได้จากศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของวนอุทยานภูลังกา จังหวัดพะเยา เพื่อให้เกิดการสื่อความหมายทางธรรมชาติ และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่ และสอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ให้เกิดสมดุล มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่องอันจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่เป็นแนวทางนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectวนอุทยานen_US
dc.subjectระบบสื่อความหมายen_US
dc.subjectForest parken_US
dc.subjectInterpretation systemen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาระบบสื่อความหมายธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานภูลังกา จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Natural Interpretation System for Tourism Promoting in Phulangka Forest Park Phayao Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panitnat Chaisarn.pdfPanitnat Chaisarn20.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.