Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1967
Title: | แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดลำปาง |
Other Titles: | An Approach to Develop Wood and Furniture Industry to Improve Competitiveness Case Study Wood and Furniture Industry in Lampang |
Authors: | วงศ์ขัติย์, รุตติพัทธ์ |
Keywords: | แนวทางการพัฒนา ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ Development guidelines Ability to compete Operator Wood industry Furniture industry |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=379&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจไม้และเฟอร์นิเจอร์ และแนวทางในการพัฒนาธุรกิจไม้และเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดลำปางใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ธุรกิจขนาดเล็ก จำนวน 5 ราย กลุ่มที่ 2 ธุรกิจขนาดกลาง จำนวน 5 รายกลุ่มที่ 3 ธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 5 รายโดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 ราย จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันกล่าวคือ ธุรกิจแต่ละประเภทและแต่ละขนาดมักประสบปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบมีราคาสูง และมีความขาดแคลนขาดการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังประสบกับปัญหาการขาดเงินทุนหมุนเวียน และการรับภาระหนี้สินจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจการ อีกทั้งปัญหาที่ทุกกิจการประสบ คือ ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในการผลิตสินค้า อันส่งผลไปสู่คุณภาพของสินค้าที่ทำการผลิตทำให้ด้อยคุณภาพลง แนวทางในการพัฒนาธุรกิจไม้และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดลำปาง คือ หน่วยงานของรัฐบาลควรมีนโยบายในการช่วยเหลือผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งในด้านแหล่งเงินทุน ด้านภาระดอกเบี้ย ด้านภาษี ด้านการกำหนดราคา และด้านการส่งออก เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ผู้ประกอบกิจการยังคงต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและศักยภาพในการผลิตสินค้าข้อแนะนำอื่น ๆ ควรมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงการกำหนดวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอาจใช้ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน KPI (Key Performance Indicator) เข้ามาช่วยในการบริหารงานในการประกอบกิจการได้ เพื่อช่วยให้สามารถประเมินปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1967 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ruttipat Wongkat.pdf | Ruttipat Wongkat | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.