Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1954
Title: การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมของสารสกัดใบละหุ่งด้วยวิธี Allium test
Other Titles: The Study of Cytotoxicity and Genotoxicity of Ricinus communis Leaf Extract using Allium Test
Authors: ดีมั่น, จักรกฤษณ์
สุทา, บุษยมาศ
อิ่มเพ็ง, ศศิธร
Keywords: ละหุ่ง
ความเป็นพิษต่อเซลล์
ความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม
สารสกัดใบละหุ่ง
Ricinus communis
Cytotoxicity
Genotoxicity
Ricinus communis leaf extract
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากใบละหุ่งด้วยเอทานอลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยวิธี Allium test ทำการทดสอบการอัตราการเจริญของรากหอมโดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.5 กรัมต่อลิตร, 1 กรัมต่อลิตร และ 2 กรัมต่อลิตร หลังจากนั้นทำการทดสอบผลของสารสกัดต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.3 กรัมต่อลิตร, 0.4 กรัมต่อลิตร และ 0.5 กรัมต่อลิตร โดยวิธี Allium test ผลของอัตราการเจริญของรากหอมทำให้เห็นว่า สารสกัดจากใบละหุ่งทำให้มีการเจริญของรากลดลงอยู่ระหว่าง 28.57 ถึง 67.09% โดยความเข้มข้นทั้งหมดของสารสกัดจากใบละหุ่งที่ทดลอง พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีการแบ่งเซลล์ ไม่แตกต่างกัน (11.26 ± 1.28 ถึง 13.01 ± 4.31) เมื่อเทียบกับ Negative control ในการศึกษาความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นความผิดปกติของโครโมโซมอยู่ระหว่าง 1.77 ± 1.45 ถึง 4.29 ± 0.62 และที่สารสกัดจากใบละหุ่งความเข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร (%CA = 4.29 ± 0.62) มีความผิดปกติของโครโมโซมที่พบหลายชนิด เช่น Stickiness, C–mitosis, Chromosome lose, Chromosome bridge และ Laggard chromosome ดังนั้น สารสกัดของใบละหุ่งด้วยเอทานอล มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมในรากหอมแต่ไม่ส่งผลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1954
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.