Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1951
Title: | การปรับปรุงพันธุ์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ผลิตเอทานอลสูงด้วยเทคนิคพลาสมาความดันบรรยากาศ |
Other Titles: | Genetic Modification of Saccharomyces Cerevisiae for High Ethanol Production by Atmospheric Pressure Plasma |
Authors: | ปูกันกะ, โชติกา |
Keywords: | Saccharomyces cerevisiae การกลายพันธุ์ เทคนิคพลาสมา ความดันบรรยากาศ การผลิตเอทานอล Mutation Atmospheric pressure plasma technique Ethanol production |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | งานวิจัยนี้ทำการปรับปรุงพันธุ์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ผลิตเอทานอลสูงด้วยเทคนิคพลาสมาความดันบรรยากาศ โดยระดมยิง S. cerevisiae V1116 ด้วยพลาสมาของก๊าซอาร์กอนที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 74 โวลต์และเวลาที่ใช้ในการระดมยิงคือ 1-3 นาที เพื่อ กระตุ้นการกลายพันธุ์ จากนั้นเพาะเลี้ยงชุดทดลองและชุดควบคุมในอาหารเหลว yeast extract peptone dextrose (YPD) ที่เติมเอทานอลร้อยละ 15 (ปริมาตรต่อปริมาตร) เพื่อคัดเลือกยีสต์ พันธุ์กลาย พบว่า ยีสต์ที่ถูกระดมยิงด้วยพลาสมาเป็นเวลา 3 นาทีมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด จากนั้นทำการตรวจสอบการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิค HAT-RAPD ด้วยไพรเมอร์แบบสุ่ม จำนวน 5 ไพรเมอร์ ผลจากการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอพบยีสต์พันธุ์กลายทั้งหมด 12 ไอโซเลท จากไพรเมอร์แบบสุ่ม จำนวน 2 ไพร์เมอร์ คือ OPBH15 และ OPAH17 เมื่อนายีสต์พันธุ์กลายมาเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว YPD ที่เติมเอทานอลร้อยละ 15 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของยีสต์พันธุ์กลายกับยีสต์ชุดควบคุม พบยีสต์พันธุ์กลาย 2 ไอโซเลทคือ M23 และ M51 มีอัตราการเจริญที่สูงกว่าชุดควบคุม ทดสอบการผลิตเอทานอลโดยการหมักชุดควบคุม M23 และ M51 ในกากน้ำตาลร้อยละ 1 (ปริมาตรต่อปริมาตร) พบว่า ยีสต์พันธุ์กลาย M23 สามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุด คือ ร้อยละ 3.18 รองลงมา คือ ยีสต์พันธุ์กลาย M51 และชุดควบคุม ซึ่งสามารถผลิตเอทานอลได้ร้อยละ 2.56 และ 1.53 ตามลำดับ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1951 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.