Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1943
Title: | การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำห้วยนาปอย จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Using of Aquatic Insects as an Indicators of Water Quality in Napoi Creek, Phayao Province |
Authors: | ฤทธิ์ศรเดช, พันไมล์ ไชยราช, พีรนันท์ เต็งสุวรรณ์, วรัญชนา |
Keywords: | แมลงน้ำ คุณภาพน้ำ ดัชนีชีวภาพ ห้วยนาปอย Aquatic insects Water quality Biological indicator Napoi creek |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างน้ำ และแมลงน้ำ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โดยแบ่งเป็น 3 สถานี ได้แก่ บริเวณต้นน้ำห้วยนาปอย บริเวณที่ไหลผ่านพื้นที่ทำการเกษตร และปศุสัตว์ และบริเวณที่ไหลผ่านชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทั้ง 3 สถานี ในด้านปัจจัยทางกายภาพ และเคมีของแหล่งน้ำ และเพื่อศึกษาปัจจัยทางชีวภาพของแหล่งน้ำโดยใช้แมลงน้ำด้วยวิธี BMWP (Biological Monitoring Working Party Score) และ ASPT (Average Score Per Taxa) วิเคราะห์หาค่าความคล้ายคลึง (Similarity index) ดัชนีความหลากหลายของแชนนอนวีเนอร์ (Shannon Wiener diversity) และดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness index) ของแต่ละจุดเก็บตัวอย่าง จากการศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมี พบว่า มีอุณหภูมิอากาศอยู่ในช่วง 27-32.3 OC อุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 22-30.4 OC ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 183-296 μS/cm ค่าความเร็วกระแสน้ำอยู่ในช่วง 0.03-0.39 m/s ค่า DO อยู่ในช่วง 1.4-2.6 mg/l ค่า BOD อยู่ในช่วง 0-1.4 mg/l ค่าไนเตรท-ไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.006-0.200 mg/l ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.01-1.36 mg/l ค่าฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 0.17-1.21 mg/l การศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ พบแมลงน้ำ ทั้งหมด 8 อันดับ 31 วงศ์อันดับที่พบจำนวนวงศ์มากที่สุด คือ Ephemeroptera จากการคำนวณ ค่า ASPT พบว่า ที่จุดเก็บตัวอย่างสถานีที่ 2 มีค่า ASPT น้อยที่สุด คือ 4.80 บ่งบอกคุณภาพน้ำอยู่ในระดับสกปรก และจุดเก็บตัวอย่างสถานีที่ 1 บริเวณต้นน้ำห้วยนาปอย มีค่า ASPT มากที่สุด คือ 7.00 บ่งบอกคุณภาพน้ำอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity index) พบว่า มีความคล้ายคลึงจากการเปรียบเทียบทั้ง 3 สถานีมีค่าร้อยละ 70.23 ดัชนีความหลากหลายของแชนนอนวีเนอร์ และดัชนีความสม่ำเสมอของแต่ละจุดเก็บตัวอย่าง พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (P<0.01) |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1943 |
Appears in Collections: | คณะวิทยาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.