Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1938
Title: | แนวทางการพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงเกษตรในจังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | Approaches to the Development to Promote Agricultural Tourism in Ratchaburi Province |
Authors: | พันธ์สว่าง, ชลธิชา |
Keywords: | การพัฒนาการตลาด การส่งเสริมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี Market development Tourism management Agricultural tourism Ratchaburi Province |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1587&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว (10A’s) ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาด (10 P’s) ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี โดยเป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ T-test, F-test or One-way ANOVA การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3 ภาคส่วน จำนวน 15 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ยกเว้น มีอาชีพและการศึกษาที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับแรงจูงใจที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แตกต่างกันออกไป 2) องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (10A’s) จังหวัดราชบุรี มีครบทุกองค์ประกอบแต่ยังต้องมีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (10P’s) ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี มีครบทุกองค์ประกอบ แต่ยังต้องมีการเพิ่มเติมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 4) แนวทางการพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี สามารถพัฒนาได้ในรูปแบบของ PPP ได้แก่ การเตรียมความพร้อม (Preparation), กระบวนการ (Process) และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Platform) ซึ่งเป็นการพัฒนาการตลาดในบริบทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดราชบุรี |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1938 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chonticha Pansawang.pdf | Chonticha Pansawang | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.