Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1741
Title: | การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์ของพระสังฆาธิการ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | The Operation of the Monk Health Charter: A Case Study Of Buddhist Ecclesiastical Official in Mueang District, Phayao Province |
Authors: | ภาชนนท์, วุฒิพงษ์ |
Keywords: | การนำนโยบายไปปฏิบัติ ธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์ พระสังฆาธิการ Implementation Health Charter Monk Buddhist Ecclesiastical Official Monk |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1529&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทาง อุปสรรค ปัญหา ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์ ของพระสังฆาธิการอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และจัดทำข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย เจ้าคณะอำเภอเมือง เจ้าคณะตำบลสาธารณสุขอำเภอเมือง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวมจำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์ ของพระสังฆาธิการ สรุปเป็น 5 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์บริหารงานตามสายการบังคับบัญชาแบบ top-down เพื่อให้งานคณะสงฆ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดให้เจ้าคณะตำบลทุกแห่งนำนโยบายไปปรับใช้ในพื้นที่ ด้านบุคลากร พระสังฆาธิการปฏิบัติตามนโยบายโดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย จัดให้มีพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) ตำบลละ 2 รูป และขยายให้ครบทุกตำบล ด้านงบประมาณ มีการดำเนินการตามศักยภาพของแต่ละตำบลหรือระดมปัจจัยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจากพุทธศาสนิกชน ด้านสถานที่ วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทุกด้าน เนื่องจากมีความเป็นสัปปายะ และด้านวัสดุอุปกรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ดำเนินงาน หรือหากจำเป็นเร่งด่วนวัดจะเป็นผู้จัดหาเองส่วนหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์สอดคล้องกับนโยบายส่วนกลาง และบูรณาการร่วมกับคณะสงฆ์ขณะที่ อุปสรรค ปัญหา โดยรวม พบว่า พระสงฆ์มีจำนวนน้อยและพรรษากาลมาก ทำให้ขาดพระสงฆ์วัยทำงานขาดทักษะในการประสานงาน และขาดงบประมาณ ด้านบุคลากรสาธารณสุข พบว่า คณะสงฆ์สั่งการไม่ชัดเจนองค์กรไม่ได้กำหนดเป็นวาระเร่งด่วน การขยายผล อสว. ไม่ครอบคลุม และขาดการติดตามผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผู้ให้ข้อมูล สำคัญเห็นว่าควรให้จัดตั้งกองทุนสุขภาพเพื่อช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายจากการอาพาธของพระสงฆ์ และสนับสนุน ค่าตอบแทนของ อสว. ในการทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ควรจัดให้มีการบริการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ สามเณรประจำปี นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนงบประมาณร่วมกับ รพ.สต. เพื่อส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ให้เข้าใจแนวคิดหลักของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติอย่างถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1741 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wuttipong Pachanon.pdf | Wuttipong Pachanon | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.