Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1683
Title: การอนุรักษ์และขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายและว่านหัวครูในสภาพปลอดเชื้อ
Other Titles: In Vitro Conservation and Micropropagation of Dendrobium SPP and Eulophia Spectabilis
Authors: ใจเพ็ชร, ชุติมา
Keywords: การขยายพันธุ์ด้วยวิธีจุลภาค
การอนุรักษ์ในสภาพปลอดเชื้อ
กล้วยไม้สกุลหวาย
ว่านหัวครู
Microbiological propagation
Conservation in aseptic conditions
Dendrobium Orchid
Eulophia spectabilis
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=406&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของเอื้องกิ่งดำ (Dendrobium gratiosissimum) เอื้องช้างน้าว (D. pulchellum) เอื้องแซะภูกระดึง (D. christyanum) และว่านหัวครู (Eulophia spectabilis) ด้วยเทคนิค thin cell layers (TCLs) ในสภาพหลอดทดลอง โดยนำโปรโตคอร์มอายุ 4 สัปดาห์ ผ่าแบ่งครึ่ง และแต่ละครึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างพืช จากนั้นนำตัวอย่างพืชเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) ที่เติม N6-benzyl adenine (BA), kinetin (Kn) และ α-naphthaleneacetic acid (NAA) ที่ความเข้มข้นต่างกัน ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 20 กรัมต่อลิตร พบว่า ตัวอย่างพืชของเอื้องช้างน้าว และเอื้องแซะภูกระดึงไม่สามารถเกิด protocorm like bodies (PLBs) ได้เมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหาร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโต ส่วนตัวอย่างพืชของเอื้องกิ่งดำ และว่านหัวครูสามารถพัฒนาเป็น PLBs ภายใน 3 ถึง 4 สัปดาห์ บนอาหาร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สำหรับการชักนำให้เกิด PLBs ของเอื้องกิ่งดำ เอื้องแซะภูกระดึง และว่านหัวครู มีประสิทธิภาพมากที่สุดบนอาหารที่เติม Kn ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่อาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตรเหมาะสมสำหรับการชักนำให้เกิด PLBs ในเอื้องช้างน้าว จากนั้นอนุบาลต้นพืชที่เกิดขึ้นใหม่ และย้ายสู่โรงเรือน การศึกษาการอนุรักษ์เอื้องช้างน้าวและว่านหัวครูในสภาพหลอดทด ลองภายใต้สภาวะชะลอการเจริญ โดยเพาะเลี้ยงเมล็ดบนอาหารสูตร MS ที่เติมน้ำตาล 20 กรัมต่อลิตร แล้วย้ายโปรโตคอร์มลงบนอาหารชะลอการเจริญ พบว่า สามารถอนุรักษ์ต้นอ่อนเอื้องช้างน้าวในสภาพหลอดทดลองที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยเลี้ยงในอาหารสูตร 1/4 MS ที่เติมซูโครส 10-20 กรัมต่อลิตร และว่านหัวครูเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยปราศจากการย้ายเลี้ยงในอาหาร 1/8MS ที่เติมซูโครส 10 กรัมต่อลิตร ซึ่งต้นพืชมีการเจริญเติบโตช้ามาก และมีการพัฒนาไปเป็นยอดน้อย การเพาะเลี้ยงไม่พบการปนเปื้อน จากนั้นย้ายต้นพืชที่เก็บรักษาไว้ลงบนอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำตาล 10 กรัมต่อลิตร เพื่อเพิ่มจำนวน พบว่า ต้นพืชไม่มีการสูญเสียการเจริญเป็นต้นใหม่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยา
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1683
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHUTIMA JAIPHET.pdfChutima Jaiphet1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.