Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชาวเวียง, กชกร-
dc.date.accessioned2022-08-22T04:06:33Z-
dc.date.available2022-08-22T04:06:33Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1575&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1682-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ไส้เดือนดิน Pheretima peguana ในการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยหมักผักตบชวาที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด รวมถึงผลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ผลการทดลองพบว่า การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ใช้ผักตบชวาหมักที่ระยะเวลา 30 วัน ปริมาณ 7 กิโลกรัม ร่วมกับมูลวัว 3 กิโลกรัม และใส่ไส้เดือนดิน P. peguana อัตรา 500 กรัมต่อตารางเมตร ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีการย่อยสลายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะเป็นเม็ดมีสีดำ เมื่อนำไปใช้ผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโดยใช้แร่ลีโอนาร์ไดต์: หินบะซอลต์บดละเอียด: ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากผักตบชวา: มูลสุกร: มูลไก่ไข่ ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:1:3:1:4 ทำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่มีคุณภาพสูง โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุ เท่ากับ 29.85 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 1.22, 4.20 และ 3.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำปุ๋ยที่มีส่วนผสมดังกล่าวไปผลิตในสายพานการผลิตของโรงงานที่ใช้ระบบจานปั้นเม็ด พบว่า ได้ขนาดที่ได้มาตรฐาน 81.10 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดที่ไม่ได้มาตรฐานจากกระบวนการผลิต 18.90 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพของปุ๋ยโดยรวมมีความสม่ำเสมอ มีค่าความชื้น เท่ากับ 21.24 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 7.76 ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 3.86 เดซิซีเมนต่อเมตร ปริมาณอินทรียวัตถุ เท่ากับ 22.07 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 9.63 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ 1.34 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสทั้งหมด เท่ากับ 4.94 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 1.13 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 รวมถึงการมีต้นทุนในการผลิตปุ๋ย เท่ากับ 5,354.54 บาทต่อตัน มีอัตรากำไรต่อต้นทุน เท่ากับ 49.41 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำปุ๋ยที่ผลิตได้ไปใช้ในการปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ในระดับโรงเรือน พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของผลผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีความสูงของต้นข้าวที่อายุ 138 วัน (วันเก็บเกี่ยว) เท่ากับ 103.20 เซนติเมตร และมีผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 550.67 กิโลกรัมต่อไร่en_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectปุ๋ยหมักผักตบชวาen_US
dc.subjectไส้เดือนดินen_US
dc.subjectปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดen_US
dc.subjectWater hyacinth composten_US
dc.subjectEarthwormen_US
dc.subjectGranular organic fertilizeren_US
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยหมักผักตบชวาด้วยไส้เดือนดิน Pheretima peguana ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่en_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Water Hyacinth Compost using Pheretima Peguana Earthworms as Feedstock for Organic Fertilizer Granulation Production and The Effect of Fertilizers on Growth and Yield Components of Riceberry Riceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kotchakorn Charwwiang.pdfKotchakorn Charwwiang1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.