Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1679
Title: | การเปรียบเทียบต้นทุนรายได้และค่าใช้จ่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในกลุ่มภาคเหนือตอนบน (4 ศูนย์ภาคเหนือตอนบน) |
Other Titles: | The Comparative of the Costs Income and Expenses of the Rice Seed Production of Four Rice Seed Centers in the Northern Province of Thailand |
Authors: | ขันคำ, กาญจนา |
Keywords: | การเปรียบเทียบ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อัตราส่วน ต้นทุน รายได้ Comparison Rice Seed Center Rratio Cost Income |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=377&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเรื่องการเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในกลุ่มภาคเหนือตอนบน (4 ศูนย์ภาคเหนือตอนบน) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ ต้นทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่ วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2553 ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทั้ง 4 ศูนย์ ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทั้ง 4 ศูนย์ มีสภาพคล่องอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนมากเป็น 2 เท่าต่อหนี้สินหมุนเวียน และมีอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็น 1 เท่าต่อหนี้สินหมุนเวียน ด้านความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ พบว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหมมีอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าน้อยที่สุด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปางมีการหมุนเวียนของสินค้าที่ดีที่สุด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา มีอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านความสามารถในการก่อหนี้ พบว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกศูนย์ มีอัตราส่วนในการก่อหนี้ อยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกัน ด้านความสามารถในการทำกำไร พบว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่มีความสามารถในการทำกำไรได้ดี ที่สุด รองลงมาเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา สำหรับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่มีอัตราส่วนกำไร จากการดำเนินงานอัตราส่วนกำไรสุทธิ และอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบ ความสามารถในด้านประสิทธิผลตาม ยุทธศาสตร์สำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่า สูงเกินเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยามีต้นทุนขายสูงกว่ารายได้มากที่สุด สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน พบว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานสูงที่สุด ส่วนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่ มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ในเป้าหมายที่กำหนด การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน พบว่า ทั้ง 4 ศูนย์มีจุดคุ้มทุนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปางต้องผลิตและขาย เมล็ดพันธุ์ ในจำนวนที่สูง กว่าศูนย์อื่น ๆ จึงจะคุ้มทุน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1679 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana Kankhum.pdf | Kanjana Kankhum | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.