Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยงค์กมล, ทนันเดช-
dc.date.accessioned2022-05-05T02:53:49Z-
dc.date.available2022-05-05T02:53:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1560&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1344-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 3 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ กลุ่มประชากร คือ คณะผู้บริหารและครูของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 40 แห่ง จำนวน 680 คน ประจำปีการศึกษา 2560 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ( Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.897 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีสภาพการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ งานวิชาการ และงานทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ งานบุคคล และงานงบประมาณ ส่วนปัญหาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานทั่วไป และงานบุคคล 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนออกเป็น 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคกลาง ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันออก ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันตก และศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตปกครองพิเศษ โดยมีการสร้างองค์ประกอบเครือข่าย 6 องค์ประกอบ ในการบริหารโรงเรียนทั้ง 40 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้แก่ 1) การมีมุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การประสานงานเครือข่าย 4) การให้คำปรึกษาเครือข่าย 5) การสร้างสรรค์ผลงาน และ 6) การกำกับดูแลและติดตาม และ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้งด้านความเป็นประโยชน์และด้านความเหมาะสม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ และ 2) ด้านความเหมาะสม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นย่อย พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกข้อ ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับมีความเหมาะสมที่เกี่ยวข้อง รูปแบบนี้ได้ระบุกระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและองค์ประกอบของเครือข่ายได้อย่างชัดเจน และกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่ายตามรูปแบบมีความชัดเจน เหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายen_US
dc.subjectโรงเรียนในเครือสารสาสน์en_US
dc.subjectManagement network modelen_US
dc.subjectSarasas Affiliated Schoolsen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of the Educational Management Network Model for Sarasas Affiliated Schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanundetch Yongkamol doc.pdfThanundetch Yongkamol4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.