Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/134
Title: | แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | An Approach to the Development of Cultural Tourism in Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | เจริญศิลป์, วัลย์ลิกา |
Keywords: | การพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา Development Cultural tourism Nakhon Ratchasima |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1292&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสนอแนะแนวทางใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาให้เต็มศักยภาพ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อหาแนวทางการตลาดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed methodology research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาคชุมชนและนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและใช้การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า โดยผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและมีสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและประตูชุมพล 2) แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา คือ วัดศาลาลอย วัดหลวงพ่อโต 3) แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม คือ หมู่บ้านทอผ้าไหมปักธงชัย หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน การแสดงเพลงโคราช และ 4) แหล่งท่องเที่ยวทางพิพิธภัณฑ์ คือ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย สำหรับ ยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพสินค้าการบริการและสร้างการรับรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับบุคลากรทางการท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมทางการท่องเที่ยว |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/134 |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
36.Wanlika Charoensilpa.pdf | Wanlika Charoensilpa | 11.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.