Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรกวิน, กวี-
dc.date.accessioned2022-04-28T07:56:51Z-
dc.date.available2022-04-28T07:56:51Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1542&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1319-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก 2) ศึกษาการรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก และ 3) สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในเขตแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก ในจังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบกี่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน5 คน และพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป รวม 25 คน/รูป ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก มีลักษณะสัณฐานทางกายภาพเพื่อการท่องเที่ยว 10 อนุสัณฐาน คือ ผาหิน ชั้นหิน เสาหินระแหงหิน ปุ่มหิน แก่งหิน บ่อหิน ชะง่อนหิน น้ำตก และดินทราย 2) การรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทราย มี 3 ระดับ คือ ระดับรู้เห็น ระดับรู้พิจารณา และระดับรู้คิด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้อยู่ในระดับการรู้เห็น ระดับการรู้พิจารณานั้นมีน้อย และระดับการรู้คิดมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ดังนั้น การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวปัจจุบันมีลักษณะการท่องเที่ยวแบบไปเห็นแล้วรู้จัก การเที่ยวแล้วรู้คุณค่ามีน้อย และเที่ยวแล้วได้องค์รู้ใหม่ ๆ มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย 3) ผู้วิจัยนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย การท่องเทียวทางนํ้า จำนวน 5 เส้นทางประกอบด้วย เส้นทางสามพันโบก เส้นทางผาชัน เส้นทางระหว่างแก่งผาชะนะได-บ้านทุ่งนาเมือง เส้นทางแก่งเก้าพันโบก และเส้นทางแก่งผาโสก และเส้นทางท่องเที่ยวทางบก จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางผาแต้มตอนใต้ เส้นทางผาแต้มตอนกลาง และเส้นทางผาแต้มตอนเหนือ (ผาชัน-ผานางคอย) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ผลการวิจัยในการจัดทำข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวสัณฐานศิลาทรายen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์en_US
dc.subjectเส้นทางการท่องเที่ยวธรรมชาติศิลาทรายen_US
dc.subjectธรณีสัณฐานหินทรายen_US
dc.subjectPerceptual Creative Tourismen_US
dc.subjectCreative Travel Routeen_US
dc.subjectNatural Sand Stoneen_US
dc.subjectMinor Morphology of Sandstoneen_US
dc.titleเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeCreativity for Perceptual Tourism in Sandstone Geomorphology of Pa Tam and Sam Pan Bok Geologic Park, Ubon Ratchathani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kawee Worrakawin doc.pdfKawee Worrakawin6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.