Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1044
Title: การวิเคราะห์คำที่สะกดไม่ตรงมาตราในหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย ชุดนิทานชาดกร้อยกรองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
Other Titles: The Analysis of Word to Not Spell in Line the Section Reading of Support Subject’s Book Thai Chadok Versefaber of Students Pratom One to Pratom Three
Authors: แกนขุนทด, กนกรัตน์
Keywords: มาตราตัวสะกด
นิทานชาดก
หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาไทย
ชุดนิทานชาดกร้อยกรอง
Thai supplementary reading books
Final consonant
Jataka tales
Jataka verse set
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=575&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการวิเคราะห์คำที่สะกดไม่ตรงมาตราในหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย ชุดนิทานชาดกร้อยกรองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยวิเคราะห์ใน 4 ประเด็น คือ 1) การวิเคราะห์คำที่สะกดไม่ตรงมาตรา 2) ชนิดของคำในภาษาไทย 3) โครงสร้างของพยางค์ 4) ลักษณะการสร้างคำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย ชุดนิทานชาดกร้อยกรอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 9 เล่ม คือ พญานกแขกเต้าผู้รู้คุณ พญากวางทองกับนายพราน พ่อค้าเร่ เศรษฐีหนู ทำใจดีสู้เสือ พ่อค้าผู้ไม่ละความเพียร นกกระจาบสองฝูง มหากบิลวานร และพญาหงส์ทองผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) คำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดมีจำนวน 4 มาตรา คือ แม่กก มี 6 คำ แม่กด มี 80 คำ แม่กบ มี 11 คำ และแม่กนมี 60 คำ 2) ชนิดของคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรามี 3 ชนิด คือ คำนาม มี 105 คำ คำกริยา มี 31 คำ และคำวิเศษณ์ มี 21 คำ 3) โครงสร้างของพยางค์ที่พบ คือ คำโครงสร้างพยางค์เดียว จำนวน 32 คำ คำโครงสร้างสองพยางค์ จำนวน 66 คำ และคำโครงสร้างหลายพยางค์ จำนวน 31 คำ 4) ลักษณะการสร้างคำที่พบ คือ คำประสมมี 32 คำ และคำซ้อน 17 คำ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1044
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokrat Kankhunthod.pdfKanokrat Kankhunthod3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.