Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/561
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้การใช้วัสดุในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง กรณีศึกษา ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Feasibility Study of Using Recycled Materials in Riverbank Protection: Case Study Pa Ngio Sub-District Wiang Pa Pao District Chiang Rai Province |
Authors: | กันทะวงค์, นิคม |
Keywords: | เขื่อนป้องกันตลิ่ง การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ Riverbank protection works Reduction of resource consumption Appropriate economics |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1407&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษานี้ นําเสนอรูปแบบการวิเคราะห์วิธีป้องกันตลิ่งแม่น้ำลาว ซึ่งพบว่าทั้ง 3 วิธีที่นำเสนอ คือ 1) Gabion box บรรจุด้วยหินใหญ่คละ 2) หินเรียงยาแนว และ 3) Gabion box บรรจุเศษคอนกรีตจากการรื้อถอนอาคาร มีความเหมาะสมที่จะใช้ป้องกันตลิ่ง ตรงบริเวณที่ทําการศึกษาได้เป็นอย่างดี เมื่อทำการศึกษาความเหมาะสมของวิธีการต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ผลของการศึกษาแสดงว่า วิธีการป้องกันตลิ่งโดยใช้ Gabion box บรรจุด้วยเศษคอนกรีตจากการรื้อถอนอาคาร เป็นวิธีที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าลงทุนรายปีที่ความยาว 80 เมตร ของตลิ่งมีค่าเท่ากับ 78,249 บาท อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุนรายปีมีค่าเท่ากับ 1.64 ในขณะที่วิธีป้องกันตลิ่งโดย Gabion box บรรจุด้วยหินใหญ่คละ และวิธีป้องกันตลิ่งโดยหินเรียงยาแนวมีค่าต้นทุนรายปีมีค่าเท่ากับ 122,819 บาท และ 99,913 บาท ตามลำดับ ค่าอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุนรายปีเท่ากับ 1.04 และ 1.28 ตามลําดับ Gabion box บรรจุด้วยเศษคอนกรีตจากการรื้อถอนอาคาร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เมื่อพิจารณาการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/561 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nikom Guntawong.pdf | Nikom Guntawong | 17.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.