Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1842
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กรแก้ว, เสน่ห์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-22T07:08:22Z | - |
dc.date.available | 2023-02-22T07:08:22Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1006&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1842 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ เพื่อสังเคราะห์และจัดทำแบบสอบถามเพื่อการวิจัย ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยวิธีวิจัยแบบเดลฟายโดยการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เขต จำนวน 209 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประกอบด้วย วิธีการพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก 5 ด้าน 13 สมรรถนะ 38 พฤติกรรมบ่งชี้ และสมรรถนะประจำสายงาน แบ่งออกเป็น 9 ด้าน 28 สมรรถนะ 75 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ วิธีการพัฒนาตนเอง 9 วิธีและวิธีการพัฒนางาน 7 วิธี องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของศึกษานิเทศก์ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก วิธีการพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | รูปแบบ | en_US |
dc.subject | มัธยมศึกษา | en_US |
dc.subject | การพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ | en_US |
dc.subject | Pattern | en_US |
dc.subject | Secondary school | en_US |
dc.subject | Supervisor’s Competency Development | en_US |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | The Competency Development Model for Supervisors in the Secondary Educational Service Area Office | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanea Kornkaew.pdf | Sanea Kornkaew | 4.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.