กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1842
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Competency Development Model for Supervisors in the Secondary Educational Service Area Office |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กรแก้ว, เสน่ห์ |
คำสำคัญ: | รูปแบบ มัธยมศึกษา การพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ Pattern Secondary school Supervisor’s Competency Development |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1006&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน 1) การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ เพื่อสังเคราะห์และจัดทำแบบสอบถามเพื่อการวิจัย ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ด้วยวิธีวิจัยแบบเดลฟายโดยการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เขต จำนวน 209 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประกอบด้วย วิธีการพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก 5 ด้าน 13 สมรรถนะ 38 พฤติกรรมบ่งชี้ และสมรรถนะประจำสายงาน แบ่งออกเป็น 9 ด้าน 28 สมรรถนะ 75 พฤติกรรมบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ วิธีการพัฒนาตนเอง 9 วิธีและวิธีการพัฒนางาน 7 วิธี องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของศึกษานิเทศก์ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก วิธีการพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1842 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Sanea Kornkaew.pdf | Sanea Kornkaew | 4.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น