กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/115
ชื่อเรื่อง: แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดระยอง ประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic Plan for Integrated Sustainable Tourism Development in Rayong Province, Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กวินฤทัยปรีดา, ภัทรปภา
คำสำคัญ: แผนยุทธศาสตร์
การพัฒนา
การท่องเที่ยวแบบบูรณาการ
ศักยภาพ
ทรัพยากรการท่องเที่ยว
Strategic plan
Development
Integrated
Potential
Resources tourism
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1275&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดระยอง ประเทศไทย 2) เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดระยอง ประเทศไทย 3) ประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติการในโครงการนำร่องในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รายการตรวจสอบชุมชนศึกษา รายการตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 32 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดระยองมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว ด้านการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านกิจกรรมการเรียนรู้และการปลูกจิตสำนึก แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดระยอง มีวิสัยทัศน์ คือ จังหวัดระยองจะสร้างแบรนด์ 1) เที่ยวระยองประตูสู่ทะเลระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) เที่ยวระยองสัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่หลากหลายเพื่อพัฒนาสังคมอย่างบูรณาการ 3) เที่ยวระยองเมืองนวัตกรรมอาหารและผลไม้โลกท่องเที่ยวในนิคมอุตสาหกรรมของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 4) เที่ยวระยองเมืองประวัติศาสตร์ตามเส้นทางกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฝึกปฏิบัติจิต ฝึกสมาธิ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ ส่วนผลการประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดระยองไปปฏิบัติตามโครงการนำร่องในชุมชนปากน้ำประแสเป็นกรณีศึกษาพบว่า ชุมชนได้พัฒนาการท่องเที่ยวตามแผนยุทธศาสตร์ในระดับหนึ่ง ส่วนนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในสินค้าและบริการการท่องเที่ยวของชุมชนปากน้ำประแสในระดับมาก
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/115
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
19.Patarapapha Kawinruthaipreeda.pdfPatarapapha Kawinruthaipreeda9.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น